PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : ไปเที่ยว ภูฏานดินแดนมังกรสายฟ้า



global24
November 26th, 2014, 16:44
ภูฏาน (http://www.globaltourplanner.com/)ตั้งอยู่ กึ่งกลางระหว่างอินเดียกับจีน(ทิเบต) มีขนาดเท่าสวิตเซอร์แลนด์ แต่มีประชากรเบาบางมาก ( 753,947 คน จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2013) ภูฏานยังเปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์ ทิวเขาของภูฏานตระหง่านเยี่ยมเทียมฟ้า อุดมไปด้วยป่าอันเขียวครื้ม ผู้คนน่ารัก
 อากาศบริสุทธิ์ สถาปัตยกรรมโดดเด่น ศาสนาน่าทึ่ง ศิลปกรรมเลอเลิศ ในประเทศไม่มีขอทาน ขโมยก็มีน้อยมาก อาชญากรรมรุนแรงแทบไม่เคยปรากฏ กรณีเสถียร
ของนักท่องเที่ยวมีเต็มร้อย  ภูฏานนับเป็นสวรรค์แห่งสุดท้ายบนพื้นพิภพที่ซ่อนตัวอยู่กลางเทือกเขาลึกอย่างแท้จริง ประชากรร้อยละ 80 ของภูฏานยังหาดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์กันอยู่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังเป็นชนบทท้องไร่ทุ่ง
 ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมปรากฏให้เห็น ยกเว้นในภาคใต้ ความงามของท้องทุ่งอันเขียวขจีจึงดูราวกับภาพฝันในสายตาของนักท่องเที่ยวที่มาจากโลกอุตสาหกรรม สิ่งที่น่าจับจิต
ที่สุดในภูฏานก็คือสัญลักษณ์ทางศาสนา  ไม่ว่าจะเป็นโชร์เต็น (สถูป/เจดีย์) ที่กระจัดกระจายอยู่ตามขุนเขาดงดอย ธงมนต์ที่โบกสะบัด กระบอกมนต์ที่หมุนตามแรงน้ำจากลำธารกลางขุนเขาหรืออาราม ต่างๆพุทธศาสนาดำรงอยู่ทุกหนทุกแห่ง 
บ่งชัดถึงทรรศนะของผู้คน จะเป็นพระลามะในชุดแดง ลามะชั้นสูง หรือพระบ้านในหมู่บ้านก็ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อคนธรรมดา ทั้งในแง่ศิลธรรมและจิตวิญญาณ อีกทั้งยังมีส่วนร่วมในความเป็นไปทุกอย่าง 
ตั้งแต่การแต่งงาน การออกดั้นด้น งานพิธีของทางการ การเลื่อนตำแหน่ง ตลอดจนวัตรปฏิบัติอันเป็นหน้าที่หลัก การประสาทพรให้กับชาวบ้าน และการจัดงานเทศกาลต่างๆ 
ความสำคัญของพวกท่านยิ่งทวีขึ้นเมื่อคำนึงถึงความจริงที่ว่า ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ถือเอาพุทธศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ คณะกรรมาธิการวัฒนธรรมแห่งชาติได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบอินังขังขอบ
ด้านการอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางพิธีกรรม ของชาติ โดยร่วมมือกับราษฎรในทุกภาคส่วน ทั้งในชนบทและในเมือง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจิตวิญญาณแห่งภูฏานจะยังได้รับการฟูมฟักรักษาเฉกเช่นกับที่เคยเป็นมานานนับพันๆปี ศาสนา ขนบประเพณี และการบูชาบรรพบุรุษประกอบกันขึ้นเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแบบภูฏาน ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดในแง่ของการให้ความเคารพนับถือองค์กรทางศาสนาและการสวมใส่ชุดประจำชาติ  
การให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมอันเก่าแก่เป็นนโยบายที่รัฐบาลกำหนด ชาวภูฏานไม่เคยคิดที่จะละทิ้งมรดกทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรมของตนเพื่อรับเอาค่านิยมของยุคสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ภูฏานไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติใด  ผู้คนจึงรักความเป็นไทและภาคอิ่มอกอิ่มใจ
ในขนบประเพณีวัฒนธรรมของตน พวกเขาไม่เห็นความจำเป็นที่จะรับเอาแนวคิดของชาติตะวันตกเข้ามาเพียงเพราะชาติเหล่านั้นเป็นมหาอำนาจและมีความเจริญทางวัตถุมากกว่า ตรงกันข้าม พวกเขาใช้เหตุและผลคัดสรรเอาเฉพาะแนวคิดที่จะช่วยเพิ่มขึ้น
วิธีชีวิตและประเทศชาติของตนได้มาใช้ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในกรอบประเพณีและวัฒนธรรมของภูฏานและต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมกับจิตวิญญาณแบบภูฏานให้เสื่อมทรามลง จนปัจจุบัน ชาวภูฏานก็ยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียม พวกเขาไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับกระแสของวัฒนธรรมสมัยใหม่ 
พวกเขาแตกต่างและใส่ใจ
ที่จะคงความแตกต่างนั้นไว้ แนวคิดเรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” ที่พระเจ้าจิกมี ซิงเก วังชุกทรงริเริ่มขึ้นจึงไม่ใช่ความเพ้อฝันอันเลื่อนลอย หรือกระทำให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรมไม่ได้แต่อย่างใด
ขั้นตอนสำคัญในชีวิตคนภูฏาน ตอนการเกิด
สำหรับคนภูฏานการมีลูกถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย ช่วงสามวันแรกหลังคลอดผู้เป็นแม่จะไม่พบใครนอกจากคนในวงศ์ญาติ
ต้องรอจนวันทำพิธีลาซัง Lhasang ซึ่งเป็นพิธีชำระบาปซึ่งจะจัดภายในบ้านผ่านพ้นไปก่อน แขกเหรื่อ เพื่อนฝูงจึงจะมาเยี่ยมเยือนแสดงความยินดีได้ ตามหมู่บ้านในชนบทญาติมิตรจะนำไข่ ข้าว หรือข้าวโพดมามอบให้เป็นของขวัญ
แต่ในเมืองจะนิยมนำเสื้อผ้าเด็กหรือผ้าอ้อมมามอบให้มากกว่า นอกจากนี้ยังต้องมอบเงินก้นถุงเล็กๆน้อยๆให้กับทารกเพื่อเป็นมงคลสุกงอมปากท้อง
แก่ชีวิต  คุณแม่จะได้รับประทานอาหารดีๆ และดื่มอาร่า เหล้าต้มพื้นบ้านของภูฏานโดยผสมกับเนยและไข่เพื่อจะได้มีน้ำนมมากๆเครื่องดื่มดังกล่าวเจ้าของบ้านมักนำออกมาเลี้ยงแขกด้วย บรรยากาศจะสดชื่นและรื่นเริงเป็นพิเศษ