PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : เครื่องพ่นยุงสารพันคุณประโยชน์ สำหรับกำจัดยุงแมลง ฆ่าเชื้อโรค



teerapon12
May 7th, 2015, 10:18
ยุง เป็นสัตว์มีปีกตัวเล็กๆ นอกจากทำความรำคาญให้ทั้งคนและสัตว์แล้ว มันยังครองตำแหน่งสัตว์ที่อันตรายระดับโลกอีกด้วย
ล่าสุด นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงโรคไข้เลือดออกในปีนี้ว่า ปี 2557 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 6,420 ราย เสียชีวิต 4 ราย โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ กทม. 1,137 ราย ซึ่งคาดการณ์ว่าทั้งปีจะมีผู้ป่วยไข้เลือดออก ราว 70,000 ราย และจะพบผู้ป่วยมากที่สุดในช่วงเดือน มิ.ย. - ก.ย. ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝน
วงจรชีวิตยุงปกตินั้น ตัวผู้จะกินน้ำหวานจากต้นไม้เป็นอาหาร มีเฉพาะยุงตัวเมียเท่านั้นที่มากัดกินเลือดเป็นอาหาร เพื่อนำไปสร้างไข่
ที่ใช้คำว่ายุงกัด (Biting) นั้นจริงๆ ยุงไม่มีเขี้ยวหรือฟันไว้กัด แต่จะใช้ปากเจาะแล้วดูดเลือดจากเหยื่อ ขณะเดียวกันก็จะปล่อยน้ำลายออกมาเพื่อไม่ให้เลือดแข็งตัว เป็นสาเหตุสำหรับบางท่านที่อาจแพ้จะเกิดอาการคันหลังจากถูกยุงกัด ยุงตัวเมียกัดกินเลือดแล้ว 1 - 2 วัน จะไปวางไข่ในภาชนะขังน้ำสะอาดที่มนุษย์สร้างขึ้นเท่านั้น เช่น ตุ่ม จานรองขาตู้กันมด ถังซีเมนต์ขังน้ำในห้องน้ำ ถังน้ำมันเก็บน้ำ ยางรถยนต์ แจกัน เป็นต้น โดยวางไข่เดี่ยว ๆ ติดแน่นกับภาชนะเหนือระดับน้ำเล็กน้อย
ไข่ของยุงลายมีความทนทานต่อสภาพความแห้งได้นานเป็นปี เมื่อมีน้ำมาท่วมถึงไข่ก็จะสามารถฟักเป็นลูกน้ำได้ มูลเหตุนี้คงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โรคไข้เลือดออกระบาดทั่วประเทศตลอดมา ส่วนยุงรำคาญ มีนิสัยชอบวางไข่ในแหล่งน้ำ ภาชนะขังน้ำที่สกปรก เช่น ท่อระบายน้ำ ท่อพักน้ำ ยางรถยนต์ ถาดอาหารของเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
โดยวางไข่เป็นกลุ่มลักษณะเป็นแพลอยอยู่ที่ผิวน้ำ ยุงทั้ง 2 ชนิดมีระยะไข่ 1 - 2 วันก็จะฟักตัวเป็นลูกน้ำหากินอาหารในแหล่งเพาะพันธุ์นั้นๆ มักจะกินอาหารอยู่ตลอดเวลา
สำหรับการหายใจผ่านทางท่อหายใจโดยโผล่มาที่ผิวน้ำแล้วถึงจะดำลงไป ระยะนี้ใช้เวลาราวๆ 7 - 10 วัน ก็เป็นระยะตัวโม่ง เป็นช่วงที่รอการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
จากเดิมที่อยู่ในน้ำเป็นยุงที่บินไปในอากาศ ระยะนี้ไม่กินอาหาร ดังนั้นสารกำจัดลูกน้ำชนิดที่ต้องให้ลูกน้ำกินเข้าไปถึงจะตาย เช่น ทราย Abate เชื้อจุลินทรีย์ Bti เป็นต้น จึงไม่สามารถกำจัดตัวโมงได้ ระยะนี้ใช้เวลาโดยประมาณ 1 - 2 วัน ก็เป็นตัวเต็มวัย ยุงตัวผู้จะมีอายุสั้นไม่เกิน 1 เดือน แต่ยุงตัวเมียจะมีอายุราว 1 - 3 เดือน
ตลอดอายุจะวางไข่ประมาณ 1 - 3 ครั้งๆ ละประมาณ 150 - 200 ฟอง จากการคำนวณยุงลายตัวเมีย 1 ตัว ภายในระยะเวลา 100 วัน จะผลิตลูกหลานได้ถึง 9,537 ตัว
ซึ่งถ้าเราไม่ทำการกำจัดก็จะมียุงตัวเมียมีหน้าที่ตามกฎธรรมชาติมากัดคนหากินเลือด เพื่อการสร้างไข่ผลิตลูกหลาน ไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้
บรรพบุรุษของแมลงมีมาพร้อมกับไดโนเสาร์ไม่น้อยกว่า 400 ล้านปี แมลงสามารถวิวัฒนาการยืนยงมาจนถึงสมัยนี้นี้ได้ ดังนั้นเราต้องไม่ประมาท
คอยตรวจดูแหล่งขยายพันธุ์และป้องกันกำจัดอย่างต่อเนื่อง เผลอไม่ได้เพื่อประโยชน์ของตัวเราเอง
เครื่องพ่นยุง หรือ เครื่องพ่นหมอกควันก็เป็นทางเลือกในการกำจัดยุงอีกวิธีนึง สามารถพ่นฆ่ายุง แมลงพาหะนำโรคต่างๆ ตามสถานที่ทั่วไป เป็นบริเวณกว้าง เช่น ตามโรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม สถานที่ราชการ คลังพัสดุ สถานที่เกิดโรคระบาด และ อื่นๆ อีกมากมาย
เครื่องพ่นยุง (http://www.enrichfogger.co.th/) หรือ เครื่องพ่นหมอกควัน (http://www.enrichfogger.co.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99-super-fog-bw-25) และ เครื่องพ่นละอองฝอย ULV (http://www.enrichfogger.co.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%AD%E0%B8%A2-ulv/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%AD%E0%B8%A2-ulv-c150-plus) ใช้เพื่อพ่นกำจัดยุงและแมลง สามารถใช้ฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อไวรัส และ แบคทีเรีย
ที่ทำให้เกิดโรคระบาด เครื่องพ่นยุง สามารถพ่นกำจัดแมลงทางการเกษตร ตามสวน ไร่นา ฟาร์ม ปศุสัตว์ และ อื่นๆ
http://s17.postimg.org/j7ya4ofrz/087.jpg
http://s10.postimg.org/6wg8f0po9/173.jpg